เลือกตั้งท้องถิ่น แบบไทยๆ ตระกูลการเมือง เจ้าพ่อ ผู้มากบารมี กินรวบ

Last updated: 25 ก.ค. 2567  |  1771 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เลือกตั้งท้องถิ่น แบบไทยๆ ตระกูลการเมือง เจ้าพ่อ ผู้มากบารมี กินรวบ

เลือกตั้งท้องถิ่น แบบไทยๆ ตระกูลการเมือง เจ้าพ่อ ผู้มากบารมี กินรวบ


ทราบผลอย่างไม่เป็นทางการไปแล้ว ในการเลือกตั้ง นายก อบจ. และ สมาชิก อบจ. เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ไม่พลิกโผ ผู้กำชัยชนะยังคงวนเวียนอยู่ในตระกูลนักการเมืองใหญ่ คนดังมากบารมีในพื้นที่ส่งลูกเมียเครือญาติ ลงสนามแข่งขัน ทำเอาผู้สมัครหน้าใหม่ แทบไม่มีโอกาสได้ลุ้น

ส่วนการเมืองท้องถิ่นมีความเกี่ยวโยงกับการเมืองระดับชาติอย่างไรนั้น ทาง "รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย" อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มองว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ มีสิ่งเปลี่ยนแปลง 3 อย่าง ให้ต้องพิจารณา เริ่มจาก 1. ในเรื่องของกฎหมาย 2. โครงสร้างอำนาจการเมืองท้องถิ่น และ 3. พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงของประชาชน ซึ่งในแง่กฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงตามมาตรา 34 ห้ามผู้มีตำแหน่งทางการเมืองช่วยหาเสียง ทำให้พรรคการเมือง ไม่กล้าไปช่วยหาเสียง

นอกจากนี้ยังมีความย้อนแย้ง เช่น ข้อจำกัดผู้สมัครลงเลือกตั้ง ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 1 ปี ทำให้คนขาดคุณสมบัติไม่สามารถลงเลือกตั้งได้ และปัญหาก่อนหน้าในการนับอายุผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ต่ำกว่า 18 ปี รวมถึงการเลือกตั้งท้องถิ่น ไม่เหมือนการเลือกตั้งส.ส. ไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้า และเลือกตั้งนอกเขต ทำให้ไม่เปิดกว้างให้กับคนรุ่นใหม่

นอกจากนี้ยังมีความย้อนแย้ง เช่น ข้อจำกัดผู้สมัครลงเลือกตั้ง ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 1 ปี ทำให้คนขาดคุณสมบัติไม่สามารถลงเลือกตั้งได้ และปัญหาก่อนหน้าในการนับอายุผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ต่ำกว่า 18 ปี รวมถึงการเลือกตั้งท้องถิ่น ไม่เหมือนการเลือกตั้งส.ส. ไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้า และเลือกตั้งนอกเขต ทำให้ไม่เปิดกว้างให้กับคนรุ่นใหม่

ขณะที่โครงสร้างอำนาจการเมืองท้องถิ่น ยังเป็นของตระกูลนักการเมืองที่มีความสำคัญและสัมพันธ์กันอยู่ แม้ไทยไม่มีการเลือกตั้งท้องถิ่นมานานกว่า 7 ปี แต่ก็ยังคงเห็นทั้งฝ่ายการเมืองเดิมและอีกฝ่ายที่ทำหน้าที่รักษาการในการเมืองท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้รักษาการตำแหน่งการเมืองท้องถิ่นได้เข้ามาลงสนามแข่งขัน ด้วยความเป็นตระกูลนักการเมืองในพื้นที่ มีการสืบต่อรุ่นต่อรุ่นเป็นระบบอุปถัมภ์ชุมชนที่มีความสำคัญอย่างมาก แม้มีการนำเสนอวิสัยทัศน์ของผู้สมัครหน้าใหม่ เช่น การเรียกร้องประชาธิปไตย ก็ไม่มีผลใดๆ กลายเป็นว่าการแก้ปัญหาให้กับคนในพื้นที่ มีความสำคัญมากกว่า ทั้งเรื่องไฟดับ ไฟไม่สว่าง และน้ำไม่ไหล

ในส่วนพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงของประชาชน ซึ่งเรื่องท้องถิ่นต้องเป็นรูปธรรม การจะทำนโยบายสาธารณะโดยรัฐอาจไม่ตอบสนองคนในพื้นที่ เพราะฉะนั้นเรื่องของตระกูลนักการเมืองในพื้นที่ จึงเป็นเรื่องของเจ้าพ่อ เป็นระบบที่ไม่ต้องมีกฎหมายมาอนุมัติ ทำให้แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และกลายเป็นพฤติกรรมของประชาชนในการเลือกผู้อุปถัมภ์ชุมชน หรือมีความใกล้ชิดมากๆ กับคนในพื้นที่มาทำหน้าที่

“จะเห็นว่าผลการเลือกตั้ง 70% เป็นไปตามนั้นไม่เคยเปลี่ยน ส่วนอีก 30% อาจเป็นเจ้าพ่อคนใหม่เกิดขึ้นมา จากโครงสร้างอำนาจในชุมชนที่ยังเดิมๆ และโอกาสที่จะมีผู้ใช้สิทธิ์มาลงคะแนนในการเลือกตั้งครั้งนี้ 50% ไม่เกิน 60% ก็เก่งแล้ว เนื่องจากความตระหนักของคนในพื้นที่อาจน้อย และมีหลายปัจจัยทำให้คนไม่มาเลือกตั้ง ทั้งโควิด ภูมิอากาศ”

อ่านต่อที่ ไทยรัฐออนไลน์

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้