Last updated: 25 ก.ค. 2567 | 10007 จำนวนผู้เข้าชม |
ใครได้ ใครเสีย กับ 3 ทางเลือก : การเมืองท้องถิ่นสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
เมื่อพูดถึงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง หลายฝ่ายอาจตั้งคำถามว่ากระบวนการดังกล่าวจะส่งเสริมต่อการเมืองท้องถิ่นสมานฉันท์และการพัฒนาประชาธิปไตยได้อย่างไร เพื่อให้เห็นภาพความสำคัญของการเลือกตั้งไม่ซื้อสิทธิขายเสียงได้ชัดเจนขึ้น สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองจึงได้พัฒนาฉากทัศน์ (scenario) อันอาจเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการปฏิบัติ 3 ประการ คือ 1) กรณีที่ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง 2) กรณีที่มีการซื้อสิทธิขายเสียง และ 3) กรณีที่ไม่มีปฏิบัติการใดๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง ที่อาจเกิดขึ้นกับ 3 กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และชุมชน เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เห็นถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อสิทธิขายเสียงได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
อนึ่ง แม้ว่าทั้ง 3 ฉากทัศน์ดังกล่าวจะได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับการเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องโครงการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง กระนั้น แท้จริงแล้วฉากทัศน์ทั้ง 3 ดังกล่าว ก็เป็นการสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นจากการซื้อสิทธิขายเสียงที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประชาธิปไตยที่กำลังเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าฉากทัศน์เหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้ทุกท่านฉุกคิดว่าแท้จริงแล้วการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงนั้นเกี่ยวข้องกับทุกฝ่าย และทุกท่านสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการเลือกตั้งที่มีคุณภาพได้ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด
จัดทำโดย นายศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ และ นางสาวจารุวรรณ แก้วมะโน สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า
19 พ.ย. 2564