Last updated: 25 ก.ค. 2567 | 10338 จำนวนผู้เข้าชม |
นับถอยหลังการจัด "เลือกตั้ง อบต." วันอาทิตย์ที่ 28 พ.ย.2564 สู่วาระเลือกตั้งท้องถิ่นลำดับที่สามต่อจากการ "เลือกตั้ง อบจ." 76 แห่ง เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2563 และ "เลือกตั้ง เทศบาล" 2,472 แห่ง เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2564 เรียกได้ว่าผ่านมาแล้วครึ่งทางสำหรับปฏิทิน "เลือกตั้งท้องถิ่น" ทั้ง 5 ระดับ โดยจากนี้จะเหลือการจัด "เลือกตั้งเมืองพัทยา" และการ "เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม." ซึ่งคาดหมายว่าจะอยู่ในช่วงไตรมาศแรกของปี 2565 (ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/967243)
สำหรับการหาเสียง "เลือกตั้ง อบต." ครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กำหนดกติกาภายใต้ "พรบ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น 2562" และ "ระเบียบ กกต.ว่าด้วยวิธีการหาเสียง และลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น 2563" (สามารถติดตาม 10 กฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นที่ควรรู้)
การเลือกตั้ง อบต.64 จะเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นที่เข้มข้นไม่แพ้กว่าการเลือกตั้งระดับอื่น โดยเฉพาะจะเป็น "ฐานทางการเมือง" ที่สำคัญในการเตรียมพร้อมเลือกตั้งใหญ่ตามวาะอีกไม่เกิน 2 ปี โดยวันที่ 18 ตุลาคม 2564 กกต.ได้สรุปยอดผู้สมัครรับสมัครเลือกตั้งอบต. ระหว่างวันที่ 11-15 ต.ค. 2564 มีผู้สมัครรับเลือกตั้งอบต.ทั่วประเทศ 76 จังหวัด รวม 136,250 คน แบ่งเป็น ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก อบต. 12,309 คน และผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาอบต. 123,941 คน สามารถดูผลรายงานการรับสมัครนายก อบต. และ สมาชิกอบต. แยกตามภาคสูงสุด 5 อันดับ
ทั้งนี้ได้มีการเปิด "บัญชีอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทน" ของนายก อบต. และสมาชิกสภา อบต.รวม 5,300 แห่ง ซึ่งถูกกำหนดไว้ใน "ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2557"
สำหรับ "เงินเดือน" ค่าตอบแทน นายก-รองนายก อบต.จะถูกแบ่งจากรายได้ งบประจำปีจาก อบต. โดยมีค่าตอบแทนแบ่งเป็น ดังนี้
เงินเดือนค่าตอบแทน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
เงินเดือนค่าตอบแทน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล